6 อาการสัญญาเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

6 อาการสัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม” “ข้อเข่าเสื่อม” เป็นอาการที่ผู้สูงอายุในไทยค่อนข้างจะเผชิญหน้า ด้วยกิจวัตรและวัฒนธรรมการทานอาหารด้วย ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมาได้ และวิธีที่จะสามารถสังเกตว่า โรคนี้เข้ามาถึงตัวเรารึยัง ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวมหรือเบี้ยวผิดรูป มีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อรู้สึกถึงการเสียดสี หรือมีเสียงดังในข้อกระดูก ปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อเข่า มีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับและมีอาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด ด้วยอาการเหล่านี้เอง จะเป็นข้อสังเกตให้พึงระมัดระวังตัวว่า อาจเข้าข่ายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือไม่ ความเจ็บปวดของโรคนี้จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตเต็มไปด้วยความลำบาก การเดินขึ้นลงบันไดก็ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเดินเองก็เดินได้น้อยลง แต่ความสามารถของการเคลื่อนไหวนี้สามารถ ดูแลและบำรุงให้กลับมาเดินอย่างมั่นคงได้  ด้วยการรักษา IPM Program ที่ใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัดชำนาญการในการรักษา ผนวกเข้ากับการรักษาด้วย PRP กล่าวคือการใช้เกล็ดของตัวคนไข้มารักษาบริเวณที่เจ็บปวด เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมฟื้นฟูของข้อเข่า ที่นอกจากจะให้หายเจ็บแล้ว ก็ยังสามารถกลับมาเดินได้ปกติอีกด้วย หากมีปัญหาเหล่านี้กวนใจ ติดต่อ Kloss Clinic

กระดูกสันหลัง คดเกิดขึ้นจากอะไร?

กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นจากอะไร ? โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีการบิดเอียงจากปกติเกินกว่า 10 องศา เกิดได้ในกระดูกสันหลังทุกระดับ และหลายสาเหตุดังต่อไปนี้ กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด เกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลังที่ผิดปปกติ ส่งผลให้รูปร่างของกระดูกผิดปกติ หรือมีการเชื่อมติดกันของข้อกระดูกหลายๆข้อ ทำให้แนวโดยรวมของกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น ปัญหาความคดของกระดูกสันหลังที่เกิดอาการในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์บางอย่าง กระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม เป็นความคดเอียงของกระดูกสัน หลังจากการยุบทรุดตัวของข้อกระดูก หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง การเกิดขึ้นของภาวะกระดูกสันหลังคด อาจส่งผลให้มีปัญหาในชีวตประจำวันอาจตื่นนอนได้ยากขึ้น นั่งได้น้อยลง แต่ไม่ใช่อาการที่รักษาไม่ได้ เมื่อเรื่มเห็นข้อตั้งสังเกตว่าเราอาจจะเป็นกระดูกสันหลังคด ให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำหรือการรักษาให้เร็วที่สุด

4 ระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าเสื่อม

4 ระดับความปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีอัตราการเป็น ค่อนข้างสูง และอยู่ในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ตามงานวิจัยได้กล่าวว่า ผู้สูงอายุในไทยจาก 100% มี 70% ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เรียกได้ว่า จาก 100 คนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 70 คนเลยทีเดียว ทำให้โรคนี้เป็นโรคที่มีนวัตกรรมทางการแพทย์ออกมาให้เห็นอย่างแพร่หลาย ด้วยความพยายามที่จะให้ความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราแก่ชรา ลดน้อยลงได้ จึงเกิดเป็นการรักษาตั้งแต่ผ่าตัด จนถึงการกายภาพบำบัด ระดับความเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม ความเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีทั้งหมด 4 ระดับ แบ่งไปตามอาการและกายภาพที่เกิดขึ้นกับข้อเข่า ระดับที่ 1 : มีอาการ ปวดเข่า ตอนลุกยืน หรือขึ้นลงบันได ช่องว่างในข้อเข่า จากการเอกซเรย์จะเห็นได้ว่าแคบลง กระดูกอ่อนที่ผิวข้อจะมีการสึกกร่อน ระดับที่ 2 : อาการปวดและเข่าลั่นจะเป็นมากขึ้น เริ่มมีขาโก่งผิดรูป และจะมีปวดตอนเหยียดขาตอนนอน เพิ่มจากระดับ 1 เอกซเรย์จะพบว่ากระดูกในข้อเข่าชนกัน และกระดูกอ่อนในข้อจะสึกหรอมากขึ้น ระดับที่ 3 : ขาจะโก่งผิดรูปมากขึ้น เดินขึ้นลงบันไดลำบากมาก จะลุกยืนลำบากมากขึ้น เอกซเรย์จะพบว่ากระดูกเริ่มสึกกร่อนและมีกระดูกงอกรอบๆข้อเข่า […]

4 วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม

4 วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมถือเป็นความโชคร้ายของชีวิต ที่อาจทำให้ประสบกับความลำบากในการเดิน การทำกิจวัตรที่ต้องใช้ขา ทุกอย่างจะยากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นจุดจบซะเมื่อไหร่ เพราะถึงเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือมีแนวโน้มแล้ว ก็ยังมีแนวทางการดูแล และการบำรุงเพื่อให้เราอยู่ในรูปแบบที่ดีที่สุดของตัวเราเองได้เสมอ เริ่มจากปรับสิ่งต่างๆ เพื่อชะลอโรคร้ายนี้ให้มาถึงเรายากที่สุด สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง​ สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดินเร็ว แอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ไม่ควรออกกำลังกายที่ที่ใช้แรงกระแทกต่อเข่า เช่น การกระโดด การวิ่ง ควบคุมน้ำหนักให้พอดี​ รักษาน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐานเพื่อลดแรงกดภายในข้อ ที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตามน้ำหนักตัว ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่​ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมสร้างกระดุกด้วยอาหารที่มี แคลเซียม วิตามิน D เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ​ ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง นั่งพับเพียบ, ขัดสมาธิ เป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อ สลับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ IPM Program เองก็มีให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่มีปัญหาโรคไข้ข้อเหล่านี้เช่นเดียวกัน ทั้งการลดน้ำหนักเพื่อน้ำหนักจะไม่กระทบข้อเข่ามากเกินไป ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ที่ให้คำปรึกษาจากแพทย์โดยตรง

อาหารกับโรค ข้อเข่าเสื่อม

อาหารกับโรคข้อเข่าเสื่อม อาหารเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่มีผลต่อโรคภัยต่างๆที่เกิดขึ้น บางอย่างทานได้ แต่บางอย่างก็ไม่แนะนำให้ทาน เหตุผลส่วนใหญ่คือส่วนผสมของอาหารเหล่านั้นมีบางส่วนที่อาจเป็นพิษกับอาการที่เราเป็น อาการของโรคเองก็สามารถแย่ลงด้วยเหตุผลเหล่านี้ อาหารช่วยชะลอเข่าเสื่อม​ จะแบ่งไปตามสารที่ประกอบอยู่ในอาหารเหล่านั้น สารเรสเวอราทรอล เช่น น้ำองุ่น ช็อกโกแลต ถั่ว สารเทอโรซิน บี เช่น ผักกูดเกี๊ยะ สารฮิจิเกีย ฟิวซิฟอร์เม เช่น สาหร่ายสีน้ำตาล อีกทั้งน้ำทับทิมก็ดีเช่นเดียวกัน อาหารที่ควรจำกัดเพื่อป้องกันโรคเข่าเสื่อม ไขมันอิ่มตัว เช่น เนยและน้ำมันปาล์ม วิตามินซี เช่น ฝรั่ง คะน้า ส้มและมือเขือเทศ อาหารที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนนึงและส่วนสำคัญที่ควรทำตามหากต้องการชะลอจากโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ แต่อาหารก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ได้ช่วยชะลอข้อเสื่อมได้ ยังมีเรื่องของการออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง Kloss Clinic เป็นศูนย์รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับมาตรฐานและมีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นพิเศษ ฉะนั้นคนไข้สามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับการดูแลที่ตรงจุดและแก้ไขข้อเข่าได้อย่างแน่นอน ที่ Kloss Clinic

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์