ใครบอกว่าวิ่ง.. แล้วจะดีจริงเสมอไป?

ใครบอกว่าวิ่ง แล้วจะดีจริงเสมอไป? การวิ่งเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายพื้นฐานที่ดีและง่ายที่สุด แถมยังเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าสุขภาพดีได้ก็ด้วยการวิ่งเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้น การวิ่งเองก็มีวิธีที่ถูกและผิด ถ้าวิ่งผิดท่าทางหรือวิ่งไม่ถูกต้องตามหลัก ก็อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งนอกจากการศึกษาเพิ่มเติมถึงหลักการวิ่งที่ถูกต้อง ในโพสนี้เองก็จะมาบอกถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากวิ่งผิดท่านั่นเอง ปัญหาเกิดได้จากการวิ่งแบบผิดๆ Patellofemoral pain syndrome อาการปวดบริเวณหน้าลูกสะบ้าและรอบๆหัวเข่า เกิดจากการเสียดสี, งอ-เหยียดเข่าบ่อยๆ และลงน้ำหนักหน้าเข่าเยอะกว่าปกติ Achilles Tendinitis ปวด บวม แดง หลังส้นเท้า เกิดจากน่องตึง ไม่ยืดก่อนวิ่ง กระโดดสูงซ้ำๆ Iliotibial Band Syndrome อาการปวดเข่าด้านข้างฝั่งด้านนอกเป็นซ้ำๆ เกิดจากเวลาวิ่งงอเข่าและชอบบิดเข่าเข้าด้านใน Patellar tendinitis ปวดหน้าเข่า ใต้ลูกสะบ้าไม่ทั้งเข่า เกิดจากการกระโดดเยอะ ลงน้ำหนักผิด Shin Splints ปวดอักเสบหน้าแข้ง เกิดจากการวิ่งเยอะ และเกร็งเท้าเวลาวิ่ง Plantar Fasciitis (รองช้ำ) ปวดใต้ฝ่าเท้าและส้น โดยเฉพาะก้าวแรกของวัน เกิดจากเท้าแบน วิ่งบนพื้นแข็ง เทคนิคที่ใช้หากเกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น R.I.C.E R – […]

นิ้วล็อค ภัยเงียบมนุษย์เมือง​

นิ้วล็อค ภัยเงียบมนุษย์เมือง โรคนิ้วล็อคคือ ความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ พบมากในกลุ่มคนที่มีการใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่นถือของหนัก เล่นโทรศัพท์ แท็บเลตมากเกินไป วิธีลดเสี่ยงนิ้วล็อค ไม่หิ้วของหนักเกินไป ควรพักมือเป็นระยะ ๆ หากต้องทำงานต่อเนื่อง ลดการเล่นโทรศัพท์ ไม่ดีดนิ้วหรือหักนิ้วเล่นเพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบ หากมือเมื่อยล้าให้แช่น้ำอุ่น พร้อมขยับมือกำแบในน้ำ หลายคนอาจเคยประสบกับปัญหานิ้วล็อคนี้จนทำให้เกิดความติดขัดในการใช้ชีวิต นอกจากวิธีป้องกันปัญหาและการแก้ปัญหาเบื้องต้นข้างต้นแล้ว นิ้วล็อคก็อาจเกิดมาจากอุบัติเหตุหรือเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ความรุนแรงก็แตกต่างกันไป หากการดูแลเบื้องต้นไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ที่ Kloss Clinic ก็มีการดูแลทางนี้เช่นเดียวกัน ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกายภาพบำบัด ตั้งแต่อัลตราซาวด์ จนถึงเลเซอร์ที่สามารถช่วยเร่งการซ่อมแซมระดับกล้ามเนื้อ ให้นิ้วสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ติดต่อได้เลยที่ Kloss Clinic

iPain อาการปวดคอ ไหล่ แขน

iPain อาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน จากกิจวัตรประจำวัน ที่ทำติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการจัดท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการใช้แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และความพิวเตอร์ จะทำให้ตามมาซึ่งความปวดของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือเส้นเอ็น เพราะการคงที่อวัยวะเหล่านั้นไว้ในสภาพเดิมหรือกดทับไว้ เช่นการพับคอ หรือการตั้งแขน ทำให้ตามมาด้วย กล้ามเนื้อล้าและเป็นอาการ iPain ในที่สุด ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน วิธีแก้อาการ iPain ยักไหล่ค้างไว้ 5 วินาทีและคลายลง 5 ครั้ง ม้วนไหล่ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง 5 ครั้ง เอียงศรีษะด้านข้าง และก้มศรีษะหน้าหลัง 5 ครั้ง นวดเมื่อมีอาการปวด และหยุดการพิมพ์ ยืดข้อมือขึ้น ดึงปลายนิ้ว เข้าหาตัวจนตึง ยืดข้อมือลง ดึงปลายนิ้ว เข้าหาตัวจนตึง ขั้นตอนแก้อาการ iPain สามารถทำได้ตลอดการทำงาน เป็นช่วงพักหลังจากทำงานไปสักพักนึง จะช่วยทำให้คลายตึงและผ่อนคลายมากขึ้นจากท่าทางการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในทางที่ดีที่สุด ให้ศึกษาการนั่งทำงานหรือใช้งานโทรศัพท์ให้ถูกวิธีจะเป็นวิธีแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ อาจเป็นวิธีการนั่งที่แปลกจากที่เคยนั่งตามปกติอยู่บ้าง […]

ปวดคอ แก้ยังไงดีนะ?

ปวดคอ แก้ยังไงดีนะ? อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนช่วงวัยทำงาน มีสาเหตุจากการทำงาน บุคลิกภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน บางครั้ง เราเคยชินกับการก้มหน้าใช้โทรศัพท์ จนหลงลืม มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เกิดความปวดกับคอแล้ว ปัญหาเหล่านี้เกิดจากลักษณะท่าทางของกิจวัตรที่ทำ เพราะถ้าทำได้ถูกวิธี นอกจากไม่ปวดแล้ว ยังทำให้บุคลิกภาพดูดีมากขึ้นด้วย วิธีแก้ อาการปวดคอ​ อย่ารีบร้อนลุกจากเตียงนอนหรือเก้าทีทันทีทันใด ควรปล่อยให้ไขข้อได้อุ่นเครื่องก่อน อย่าใช้วิธีหนีบโทรศัพท์ที่คอเด็ดขาด หากคุยโทรศัพท์มือถือก็ควรสลับข้างกัน ปรับจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในระดับสายตา หลีกเลี่ยงการก้มหรือเงยคอนานๆ นั่งหลังตรง ขณะขับรถ หรือกำลังทำงาน หลีกเลี่ยงการใช้กระเป๋าสะพาย ที่หนักข้างเดียว ควรใช้เป้หลังแทน ลองใช้น้ำแข็งมากดนวด เวลาปวดหรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ เวลานอนให้ใช้หมอนรองคอโดยเฉพาะ หรือใช้ผ้าขนหนูพันสอดไว้ อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้ง่าย และแก้ไขได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพราะอาการที่ใกล้ตัวอยู่ตลอด และรับรู้ได้ทันทีจากความเมื่อยของกล้ามเนื้อคอ หรือความปวดที่เปล่งขึ้นมาจากต้นคอ แต่ในคนที่มีอาการเรื้อรัง ก็มีโอกาสทำให้อาการปวดคอ ไม่หายจากการแก้ไขด้วยตัวเอง  ดังนั้นจึงต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัด ซึ่ง Kloss Clinic ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ทั้งการดูแลไขข้อ และ Office syndrome  สามารถดูแลได้ครอบคลุมและแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีก็อาการจะเรื้อรังไปมากกว่านี้ ปรึกษาฟรีได้ที่ Kloss Clinic

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (sciatica) เป็นอาการที่เกิดจากการบวมของกล้ามเนื้อหรือของผิวหนังที่อยู่ใกล้กับสะโพกซึ่งทำให้เกิดการกดทับสะโพกประสาทที่ส่งผ่านมายังขา ซึ่งอาจทำให้เกิดปวดขา ปวดเข่า ปวดลำตัว และปวดท้องขึ้น โดยมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยกว่ากับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาทางกายภาพ การใช้ยา และการผ่าตัดในบางกรณี อาการ ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ขา รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น ปวดหลังช่วงล่าง ความเสี่ยง เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า ออกกำลังกายมากเกินไป วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง นั่งเป็นเวลานาน ยกของหนัก เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง หากท่านมีอาการควรตรวจ MRI LS-Spine เพราะโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นโรคที่แสดงอาการเหมือนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกือบ 100% และยังมีโอกาสที่โรคทั้ง 2 จะเกิดขึ้นพร้อมกัน MRI จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยให้แพทย์สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ Kloss Clinic มีการบริการการกายภาพบำบัดและบุคลากรที่มีความสามารถ พร้อมดูแลคนไข้ที่ประสบปัญหาความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ด้วยประสบการณ์ที่เปิดให้บริการมามากกว่า 5 ปี

6 ท่าผ่อนคลายก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น ไม่ปวดเมื่อย

6 ท่าผ่อนคลายก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น ไม่ปวดเมื่อย ก่อนนอนเป็นเวลาสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพของเรา การผ่อนคลายก่อนนอนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการให้ร่างกายพักผ่อนและคลายความเครียด เพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น และเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพเช่น การนอนไม่หลับ ปวดศรีษะ หรือปัญหาร่างกายอื่นๆ โดยผลลัพธ์ที่จะได้จากการทำผ่อนคลายก่อนนอนคือ ความผ่อนคลายของร่างกายและจิตใจ นอนหลับราบรื่น สุขภาพที่ดีขึ้น และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในวันต่อไป วิธีการทำแต่ละท่า นอนหงาย หายใจเข้าลึก ๆ ยกแขนขึ้นช้า ๆ หายใจออก เอาแขนลงแนบลำตัว นอนหงาย มือกอดใต้เข่า บริเวณต้นขา ดึงเข่าชิดอก ยึดกล้ามเนื้อหลัง สะโพก ก้น นอนหงาย ชันเข่า ลำตัวแนบเตียง บิดสะโพกไปด้านซ้ายและด้านขวาช้า ๆ นอนคว่ำ ชันเข่าขึ้น โน้มแขนและลำตัวไปด้านหน้า นอนคว่ำ มือยันเตียง และยันตัวขึ้น นอนหงาย กระดกปลายข้อเท้าขึ้นและลงช้า ๆ นับ 1 – 10 เท่ากับ 1 รอบ ทำท่าละ 10 […]

9 ท่ายืดเหยียดร่างกาย

มือเท้าชา

    การยืดเหยียดร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญและง่ายดายในการบำบัดร่างกาย มันช่วยให้เราผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาความเจ็บปวด ทำให้ร่างกายคล่องตัว กระตุ้นเส้นเอ็นและข้อต่อ ลดอาการเจ็บปวด และช่วยให้ร่างกายได้รับการยกระดับความสดชื่น ดังนั้น การยืดเหยียดร่างกายถือเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี และสบายใจของร่างกายและจิตใจ

3 ท่าดึงยืด บริหารกล้ามเนื้อหลังไหล่

3 ท่าดึงยืด บริหารกล้ามเนื้อหลังไหล่ ไหล่เป็นส่วนของร่างกายที่สำคัญอย่างมากในการทำกิจกรรมทั้งหมดของชีวิตประจำวัน ด้วยความหลากหลายของการใช้งานของไหล่ ทำให้มีโอกาสเกิดอาการบวมและอาการปวด ทำให้ต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟู ดังนั้นการดูแลไหล่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 1ท่าบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่แบบยืน จับยางยืดยกขึ้นและยืดยางให้กว้างกว่าหัวไหล่เล็กน้อย กางแขนลงมาจนข้อมืออยู่ระนาบเดียวกับหัวไหล่ พยายามรักษาลำตัวให้ตรง ไม่กลั้นหายใจ 2 ท่าบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่แบบนั่ง นั่งทับแผ่นยางยืดไว้ จับยางยืดและยกมือขึ้นมาด้านหน้าเอียง 45 องศา ถึงระดับหัวไหล่ ค่อยๆทำช้าๆโดยสังเกตจากการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก 3 ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนบน จับยางยืดห่างประมาณหัวไหล่ เกร็งกล้ามเนื้อหลังส่วนบน และดึงแผ่นยางยืดลงมางอศอกเล็กน้อย ท่าที่ถูกต้อง เมื่อเคลื่อนไหวกระดูกสะบักจะชิดเข้าหากัน การบริหารกล้ามเนื้อหลังไหล่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อไหล่มากขึ้น ทำให้อาการที่อาจส่งผลมาจากการนั่งเก้าอี้นานๆ พิมพ์คอมหรือถือโทรศัพท์ บรรเทาลงได้ ฉะนั้นเรา Kloss Clinic ขอเป็นหนึ่งในแรงผลักดันเพื่อบอกคุณว่า สุขภาพที่ดี จะมาพร้อมกับความสุขในทุกวัน

ปวดหลัง ร้าวลงขา

ปวดหลัง

“ปวดหลังร้าวลงขา” เป็นเรื่องที่น่าสนใจและสำคัญมากในการดูแลสุขภาพ ปวดหลังร้าวลงขาเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อหลัง รวมถึงผู้ที่นั่งทำงานหนักหรือยืนนาน เป็นต้น หากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาอย่างถูกต้อง อาการนี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยได้

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์