ตรวจกรดยูริคเพื่อดูภาวะโรคเก๊าท์

โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อฉับพลัน ข้อแข็ง และบวม ส่วนมากมักเป็นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า 

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเกาต์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้

สาเหตุของโรคเกาต์

โรคเกาต์เกิดจากร่างกายขจัดกรดยูริก (Uric acid) ออกไม่หมด จึงมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ เรียกว่า “ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia)” 

เมื่อระยะเวลาผ่านไป กรดยูริกจะเกิดการตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดการอักเสบได้

กรดยูริกคืออะไร?

กรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากร่างกาย โดยร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองถึง 80% ส่วนอีก 20% ที่เหลือ ได้มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนเข้าไป โดยสารพิวรีนสามารถพบได้ในอาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง

กรณีที่ร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไป

ร่างกายจะขับกรดยูริกที่เกินความจำเป็นทางปัสสาวะ แต่ในร่างกายของบางคนไม่สามารถขับกรดยูริกออกไปได้หมดจึงเกิดการสะสมกรดยูริก โดยเฉพาะบริเวณกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต

หากร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกไปได้หมด เมื่อระยะเวลาผ่านไป จะเกิดการตกตะกอนของกรดยูริกเป็นจำนวนมาก และทำให้กลายเป็นโรคเกาต์นั่นเอง

ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคเกาต์

มีแนวโน้มที่จะพบโรคเกาต์ในเครือฐาติ นั่นคือ ผู้มีที่กรดยูริคในเลือดสูง และมีญาติสายตรงเป็นโรคเกาต์ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงกว่าผู้ที่มีกรดยูริคในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีญาติสายตรงเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์สามารถพบได้บ่อยในเพศชาย ซึ่งมากกว่าเพศหญิง 9-10 เท่า พบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และสำหรับเพศหญิงมักจะพบได้ในวัยหมดระดูเป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้แล้วยังพบโรคแทรกซ้อน หรือโรคที่มักพบได้ในผู้ป่วยโรคเกาต์ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดแดงแข็ง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • เบาหวาน

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็น “เกาต์”

  • พบแพทย์ทันทีหากมีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
  • ประคบเย็นขณะข้ออักเสบเฉียบพลัน
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสมและถูกสัดส่วน หลีกเลี่ยงอาหารที่มี Purines สูง
  • จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ ไวน์ ของหมักดองจากยีสต์
  • ดื่มน้ำในปริมาณมาก เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในไต
  • รับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากมีอาการแพ้ยา ควรหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทยื
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

Share:

Facebook
Twitter

บทความเพิ่มเติม

ตรวจกรดยูริคเพื่อดูภาวะโรคเก๊าท์

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์